Gadget

อาคารสูง และความปลอดภัย

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554


อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ ที่จะก่อสร้างใหม่ ต้องมีมาตราการด้านความปลอดภัยต่างๆ ที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังต่อไปนี้
1.1 กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ได้กำหนดให้อาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย เช่น

- ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่น Sprinkle System
- ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น
- ระบบท่อยืนที่เก็บน้ำสำรอง และหัวรับน้ำดับเพลิง
- เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ
- บันไดหนีไฟ และทางหนีไฟทางอากาศ
- ระบบไฟส่องสว่างฉุกเฉินในเส้นทางหนีไฟ
- ระบบป้องกันฟ้าผ่า
- มีถนนรอบอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร
- ต้องมีช่องทางเฉพาะสำหรับบุคคลภายนอกเข้าไปบรรเทาสาธารณภัยได้ทุกชั้น
- ต้องมีลิฟต์สำหรับใช้ดับเพลิงที่จอดได้ทุกชั้น และต้องมีระบบควบคุมพิเศษ สำหรับพนักงานดับเพลิงใช้ขณะเกิดเพลิงไหม้โดยเฉพาะ
1.2 กฎกระทรวงฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2540) เป็นการแก้ไขกฎกระทรวง
ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) เพื่อปรับปรุงให้อาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษให้มีระบบความปลอดภัยดียิ่งขึ้น เช่น

- เพิ่มพื้นที่ดาดฟ้าสำหรับหนีไฟทางอาคารจากเดิมกว้าง - ยาว ด้านละ 6 เมตรเป็น กว้าง - ยาว ด้านละ 10 เมตร
- ต้องติดตั้งแบบแปลนอาคารแสดงตำแหน่งห้องต่างๆ ที่โถงหน้าลิฟต์ทุกชั้น
- ช่องโล่งภายในอาคาร ที่สูงตั้งแต่ 3 ชั้นไป ต้องติดตั้งระบบควบคุมการแพร่กระจายของควันไม่ให้แพร่กระจายไปยังชั้นต่างๆ
- ทำผนังปิดล้อมโถงบันไดหลัก เพื่อป้องกันไม่ให้ควันไฟแพร่กระจายไปตามชั้นต่างๆ
- กำหนดให้อาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่ก่อสร้าง หรือขออนุญาตก่อนกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2533) ใช้บังคับ ซึ้งเดิมไม่อนุญาตให้ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคารให้สามารถดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้ได้ภายในขอบเขตที่จำกัด โดยไม่เพิ่มความสูง และเนื้อที่อาคารเกินค่าที่กำหนดต้องจัดให้มีระบบความปลอดภัย ด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการป้องกันอัคคีภัยเพิ่มเติม
Top
1.3 กฎกระทรวงฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2540) กำหนดให้

- โครงสร้างหลัก เช่น เสาและคานของอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะต้องมีอัตราทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ส่วนพื้นต้องมีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง
- กระจกที่ใช้ทำผนังภายนอกอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารขนาดใหญ่ ต้องเป็นกระจกชนิด 2 ชั้น มีคุณสมบัติในการป้องกัน การบาดของเศษกระจก และมีวัสดุคั่นกลางกระจกไม่ให้เศษกระจกหลุดออกมาเมื่อกระจกแตก
1.4 กฎกระทรวงฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) กำหนดให้ อาคารหอประชุม โรงแรม โรงพยาบาล สถานศึกษา สนามกีฬา ตลาด ห้างสรรพสินค้า สถานบริการ อาคารจอดรถ ฯลฯ และอาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร ในเขตพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวใน 10 จังหวัด คือ กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน ต้องออกแบบให้โครงสร้างอาคาร สามารถด้านแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้

อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะที่ได้ก่อสร้างแล้วก่อนที่จะมีกฎกระทรวง กำหนดมาตราการความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยใช้บังคับ ได้ออกกฎกระทรวง
ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2540) ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจในการสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ ฯลฯ แก้ไขอาคารให้มีระบบการป้องกันอัคคีภัยเท่าที่จำเป็นจริงๆ คือ
- ติดตั้งบันไดหนีไฟ
- จัดให้มีการติดตั้งแบบแปลนผังอาคารไว้ตามห้องโถง หรือหน้าลิฟต์ทุกชั้นของอาคาร
- ติดตั้งเครื่องดับเพลิงมือถือ 1 เครื่อง ต่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร ทุกระยะไม่เกิน 45 เมตร แต่ไม่น้อยกว่าชั้นละ 1 เครื่อง
- ติดตั้งสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น
- ติดตั้งระบบไฟส่องสว่างฉุกเฉินในเส้นทางหนีไฟ
- ติดตั้งระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า

บทความดีๆจาก กรมที่ดิน
Share on :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น