กำแพงกันดินนั้นมีหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่การคำนวนของวิศวกรและก็งานที่เราจะนำไปใช้ด้วย เช่นหากดินถมสูงไม่มาก เราสามารถทำกำแพงกันดินเป็นไม้หรือ ดินถมกั้นใว้ตามปกติได้ แต่หากถมสูง มีความต่างชั้นกันของระดับดินสูง ต้องทำด้วยวุสดุที่แข็งแรงและผ่านการคำนวนมาอย่างดีจากวิศวกร
มาดูตัวอย่างกำแพงกันดินคร่าวๆกันนะครับ
1...กำแพงกันดินรูปตัว L แอล
กำแพงตัวแอลนี้จะใชในกรณีที่ปั้นจั่นเข้าไปตอกเสาเข็มไม่ได้ ตัวกำแพงเวลาติดตั้งจะหันด้านที่มีแผ่นยื่น(ด่านล่าง)เข้าหาดินถมเพื่อให้ดินช่วยกดใว้อีกทีนึง จากนั้นก็สามารถก่ออิฐทำรั้วได้ตามปกติ
2...กำแพงแบบเสาเข็ม
กำแพงชนิดนี้จะมีด้วยกันหลายแบบ ยกตัวอย่างให่้ดูนะครับ
2.1 กำแพงแบบตอกเข็มเสียบแผ่นกันดิน กำแพงชนิดนี้จำใช้การตอกเสาเข็มเป็นระยะตามที่วิศวกรออกแบบใว้ ส่วนใหญ่เสาเข็มที่ใช้คือเข็มตัว I (ไอ) เพื่อเอาใว้เสียบแผ่นกันดินตามช่องของเสาเข็ม กำแพงชนิดนี้หากดินถมสูงมาก เราจะใช้ สเตย์ หรือ เข็มรั้ง อีกต้นนึง เพื่อความแข็งแรงที่มากขึ้น(ดูได้จากรูป)
2.2 กำแงแบบตอกเสาเข็มแล้วเทหล่อ อันนี้ค่อนข้างสิ้นเปลืองแต่ก็เคยมีการทำจริงเพราะได้ผล ทนเอาเรื่อง คือตอกเสาเข้มแบบกำแพงแผ่นเสียบ แต่ครั้งนี้จะไม่เสียบแผ่นแต่จะเทหล่ออมเสาเข็มไปด้วย การทำวิธีนี้สิ้นเปลืองมากและไม่ค่อยนิยม
2.3 กำแพงแบบเข็มพืด อันนี้น่าจะเห็นกันบ่อยๆเพราะสถานที่ที่ติดกับแม่น้ำส่วนมากจะทำกันคือตอกเสาเข็มติดๆกันเสาเข็มที่ใช้ส่วนมากมีทั้งปูนและเหล็กและใช้เสาที่ตอกเป็นตัวกำแพงกันดินในตัวเลย
อย่างไรก็ดีหากต้องการที่จะสร้างกำแพงกินดินให้ปรึกษาวิศวกรช่วยออกแบบดีที่สุดครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น